เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้
ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริใน
พยาบาท(การคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอัน
ไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก
โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละ
ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
นี้ คือธรรม 10 ประการที่แทงตลอดได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :434 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

(ช) ธรรม 10 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา1 10 ได้แก่
1. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะมาถึงเป็น
ธรรมดา)
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นปฏิกูล
ในอาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ใน
ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน
ความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป-
ธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
10. นิโรธสัญญา (ความกำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
นี้ คือธรรม 10 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 10 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ นิชชรวัตถุ (ธรรมที่ทำให้เสื่อม) 10 ได้แก่
1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :435 }